ข้อเรียกร้องเนื่องในวันกรรมกรสากล พ.ศ. 2566
ด้วยวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันกรรมกรสากล” ซึ่งเป็นวันที่คนทำงานทั่วโลกได้ร่วมกันรำลึกและยกย่องเชิดชูการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมของคนทำงาน ร่วมส่งเสริมสิทธิอันชอบธรรมที่คนทำงานสมควรได้รับในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประชาชนกลุ่มอื่น ๆ และเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคนทำงานทุกอาชีพในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

iwdLoGo23

แถลงการณ์และข้อเรียกร้อง เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2566


เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศ จังหวัดเชียงใหม่


เราผู้หญิงแรงงานและแรงงานข้ามชาติ ผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเชื้อ เอชไอวี ผู้หญิงที่เป็นพนักงานบริการ ผู้หญิงที่มีสถานะไร้สัญชาติ ผู้หญิงสูงอายุ เด็กและเยาวชนหญิง ผู้หญิงชนบทในภาคเกษตร ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมและที่ยุติการตั้งครรภ์ ผู้หญิงพิการ เฟมมินิสต์ ผู้หญิงที่ต่อสู้เรื่องประชาธิปไตย และ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน สิทธิในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเครือข่าย พันธมิตรทั้งหลายที่ลุกขึ้นมาสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิง รวมถึงความเป็นธรรมทางเพศ

ข้อเสนอในวันแม่บ้านสากล 2565


วันที่ 16 มิถุนายน 2565
เรื่อง ข้อเสนอในโอกาสวันแม่บ้านสากล
เรียน นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่


เนื่องด้วยมีการประกาศในเวทีการประชุมเรื่องอนุสัญญา ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน ที่ประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศสมัยที่ 100 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ให้วันที่ 16 มิถุนายน เป็น วันแม่บ้านสากล ซึ่งนับแต่นั้นมา ลูกจ้างทำงานบ้านหลายประเทศจะจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมของลูกจ้างทำงานบ้าน เป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของลูกจ้างทำงานบ้าน รวมถึงสิทธิอันชอบธรรมที่ลูกจ้างทำงานบ้านสมควรจะได้รับในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประชาชนคนกลุ่มอื่นๆ และที่สำคัญลูกจ้างทำงานบ้านเป็นกลุ่มแรงงานที่มีบทบาทเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างรายได้และเศรษฐกิจทั้งในระดับครัวเรือน และระบบเศรษฐกิจภาพรวม ซึ่งผู้คนในสังคมมักไม่เห็นแง่มุมในคุณค่าของลูกจ้างทำงานบ้านในด้านนี้

ข้อเรียกร้องในวันกรรมกรสากล 2565

1. รัฐบาลต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคโดยด่วน

2. ขอให้รัฐบาลนำหลักการการคำนวณค่าจ้างที่เป็นธรรมตามมาตรฐานแรงงานสากล มาใช้เป็นหลักการการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นในปัจจุบันโดยเสนอให้มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 492 บาทต่อวันและใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวกันทั่วทั้งประเทศ โดยให้ดำเนินการและประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราใหม่ภายในปี 2565

 

ข้อเรียกร้อง เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2565

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติหญิงที่ทำงานในทุกสาขาอาชีพ เช่นลูกจ้างที่ทำงานบ้าน ในโรงแรมและงานที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม การท่องเที่ยว ภาคบริการ ร้านขายของ ร้านอาหาร โรงงานอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม พวกเธอส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวันและมีรายได้ลดลงเนื่องจากสถานที่ทำงานปิดกิจการชั่วคราว หรือบางคนไม่มีรายได้เพราะตกงาน แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายเท่าเดิมหรือมากกว่าเนื่องจากยังคงต้องจ่ายค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าขนมค่านมลูก ค่าของใช้ส่วนตัวเช่นผ้าอนามัย และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้สำหรับการเรียนออนไลน์ของลูก